คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาวิเคราะห์ ธรรมชาติของฟิสิกส์ การค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และขอบเขตวิชาฟิสิกส์ ปริมาณกายภาพ ปริมาณเวกเตอร์และสเกลาร์ ระบบหน่วยระหว่างชาติ การวัดและเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ การแปลความหมายข้อมูล การเคลื่อนที่แนวตรง ระยะทางการเคลื่อนที่ อัตราเร็วของวัตถุ การวัดอัตราเร็วของการเคลื่อนที่ในแนวตรง การบอกตำแหน่งของวัตถุสำหรับการเคลื่อนที่แนวตรง การกระจัด ความเร็ว ความเร่ง ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็ว เวลากับระยะทางสำหรับการเคลื่อนที่ในแนวตรง สมการสำหรับคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ ของการเคลื่อนที่แนวตรงด้วยความเร่งคงตัว แรง มวลและกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา มีความสามารถในการสำรวจ ตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย
เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม
ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
1. สืบค้นและอธิบายการค้นหาความรู้ทางฟิสิกส์ ประวัติความเป็นมารวมทั้งพัฒนาการของหลักการและแนวคิดทางฟิสิกส์ที่มีผลต่อการแสวงหาความรู้ใหม่และการพัฒนาเทคโนโลยี
2. วัดและรายงานผลการวัดปริมาณทาง ฟิสิกส์ได้ถูกต้องเหมาะสมโดยนำความคลาดเคลื่อนในการวัดมาพิจารณาในการนำเสนอผลการทดลองในรูปแบบของกราฟ วิเคราะห์และแปลความหมายจากกราฟเส้นตรง
3. ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่ง การกระจัด ความเร็วและความเร่งของการเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวตรงที่มีความเร่งคงตัวจากกราฟและสมการ รวมทั้งทดลองหาค่าความโน้มถ่วงของโลกและปริมาณต่างๆที่เกี่ยวข้อง
4. อธิบายแรงและผลของแรงลัพธ์ที่มีต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ รวมทั้งทดลองหาแรงลัพธ์ของแรงสองแรงที่ทำมุมต่อกัน\
5. เขียนแผนภาพของแรงที่กระทำต่อวัตถุอิสระและอธิบายกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันและการใช้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันกับสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ รวมทั้งทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรง มวล และความเร่งตามกฎข้อที่สองของนิวตัน
6. อธิบายกฎความโน้มถ่วงสากลและผลของสนามโน้นถ่วงที่ทำให้วัตถุมีน้ำหนัก รวมทั้งคำนวณปริมาณต่างๆที่เกี่ยวข้อง
7. วิเคราะห์และอธิบายแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสขอวัตถุคู่หนึ่งๆในกรณีที่วัตถุหยุดนิ่งและวัตถุเคลื่อนที่ รวมทั้งทอลองหาสัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุคู่หนึ่งๆและนำความรู้เรื่องแรงเสียดทานไปใช้ในชีวิตประจำวัน
8. อธิบายสมดุลกลของวัตถุโมเมนต์และผลรวมของโมเมนต์ที่มีต่อการหมุนแรงคู่ควบและผลของแรงคู่ควบที่มีต่อสมดุลของวัตถุ เขียนแผนภาพของแรงที่กระทำต่อวัตถุอิสระเมื่อวัตถุอยู่ในสภาพสมดุลและคำนวณปริมาณต่างๆที่เกี่ยวข้องรวมทั้งทดลองและอธิบายสมดุลของแรงสามแรง
9. สังเกตและอธิบายสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อแรงที่กระทำต่อวัตถุผ่านศูนย์กลางมวลของวัตถุและผลของศูนย์ถ่วงที่มีต่อเสถียรภาพของวัตถุ
- Teacher: นางสาวอนงค์ ปลั่งกลาง
- Teacher: นางไอรฎา วงค์เขียว