โปรดเข้าสู่ระบบ เพื่อใช้งาน .....






     


    รายวิชาทั้งหมด


    ข่าวและประกาศของเว็บ

    (ยังไม่มีกระทู้)

    รายวิชาที่มีอยู่

    คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

     

    รหัสวิชา ท30206 รายวิชา การเขียนเชิงสร้างสรรค์                                กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย

    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1                                       เวลา  40  ชั่วโมง   จำนวน 1  หน่วยกิต

     

              ศึกษาเกี่ยวกับหลักการเขียน อันได้แก่ ลีลาหรือโวหารในการเรียบเรียง การเขียนบรรยาย การเขียนอธิบาย การเขียนพรรณนา การเขียนบันทึก การเขียนคำกล่าวในโอกาสต่าง ๆ การเขียนบันเทิงคดี และการแต่งคำประพันธ์ โดยใช้กระบวนการเขียนมาผลิตงานเขียนสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาสาระ ถูกต้อง ครบถ้วน เลือกใช้ถ้อยคำสำนวนโวหารอย่างสละสลวยก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน น่าอ่าน

    โดยใช้ทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางภาษา กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเขียนมาฝึกฝนปฏิบัติให้เกิดทักษะ ความชำนาญในงานเขียนสื่อสารตามโอกาสต่าง ๆ ด้วยรูปแบบที่เหมาะสมทั้งเนื้อหา จุดมุ่งหมาย

    เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน เห็นคุณค่า และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาไทย และมีนิสัยรักการอ่าน การเขียนและมีมารยาทในการเขียน

     

    ผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

     

    1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะ ประเภท และหลักการเขียนบรรยายและพรรณนา

              2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเขียนบันทึก เขียนบันทึกประเภทต่าง ๆ แล้วนำไปปรับใช้

    ในชีวิตประจำวันได้

              3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเขียนคำกล่าวในโอกาสต่าง ๆ และเขียนคำกล่าวในโอกาสต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามรูปแบบและเหมาะสมกับสถานการณ์ กาลเทศะ และบุคคล

              4. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเขียนบันเทิงคดีและเขียนงานเขียนบันเทิงคดีประเภทต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

              5. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการแต่งคำประพันธ์และแต่งคำประพันธ์ประเภทต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

             

    รวมทั้งหมด   5   ผลการเรียนรู้


     


                                                                        คำอธิบายรายวิชา

     

            รายวิชาภาษาไทย 1                                                                 รหัสวิชา ท 31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 

            ภาคเรียนที่ 1    เวลาเรียน  40 ชั่วโมง/ภาคเรียน                            จำนวน  2 ชั่วโมง/สัปดาห์        

            กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                   จำนวน  1.0  หน่วยกิต

    **********************************************************************

    ศึกษาการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว  ประเภทบทความ  นวนิยาย  และความเรียง  บทร้อยกรองประเภท โคลง  ฉันท์  กาพย์  กลอน ร่าย และลิลิต  จับใจความ สรุปความ ตีความ  แปลความ  และขยายความสื่อประเภทข่าวสารจากสื่อสิ่งพิมพ์   สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในชุมชน  บทความ  นิทาน  เรื่องสั้น  บทเพลง  วรรณคดีใน

    การเขียนสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เขียนอธิบาย เขียนเชิญชวน  เขียนจดหมายกิจธุระ กรอกแบบรายการ        และมีมารยาทในการเขียน

                การพูดสรุปแนวคิด  การแสดงความคิดเห็น  การวิเคราะห์แนวคิดการใช้ภาษา  ความน่าเชื่อถือ

    และประเมินเรื่องที่ฟังและดู  รู้จักเลือกฟังและดูสื่ออย่างมีวิจารณญาณ เพื่อกำหนดแนวทางนำไปประยุกต์ใช้             ในการดำเนินชีวิต  และมีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด

                การอธิบายธรรมชาติของภาษา  ลักษณะของภาษา  การประเมินการใช้ภาษาจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

                หลักการวิเคราะห์  วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมเบื้องต้น ในเรื่องจุดมุ่งหมายของการแต่ง  การพิจารณารูปแบบ เนื้อหา  กลวิธี  การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าด้านเนื้อหา  ด้านวรรณศิลป์  ด้านสังคมและวัฒนธรรม        เรื่องคำนมัสการคุณานุคุณ  อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง  นิทานเวตาลเรื่องที่ 10  ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด  และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

                โดยใช้กระบวนการอ่าน  กระบวนการฟัง  การดู  การพูด  กระบวนการเขียน  กระบวนการปฏิบัติ

    กระบวนการคิด กระบวนการทางภาษา  การะบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ 

                 เพื่อเห็นคุณค่าของการนำความรู้จากการอ่าน  การเขียน  การฟัง  ดู  และพูด  มีนิสัยรักการอ่าน  การเขียน 

    มีมารยาทในการอ่าน   การเขียน  การฟัง  การดู  การพูด พร้อมทั้งนำหลักการใช้ภาษา  ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  มีความสำนึกและภูมิใจในวรรณคดีและวรรณกรรมซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ

     

     

     


                                                                         


    1.มาตรฐานการเรียนรู้


    2.คำอธิบายรายวิชา

                ศึกษาการเปรียบเทียบจำนวนเต็ม จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์  การบวก  การลบ  การคูณ  และการหารจำนวนเต็ม  สมบัติของจานวนเต็ม  และการนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในชีวิตจริง  เศษส่วน การเปรียบเทียบเศษส่วน  การบวก  การลบ  การคูณ  การหารเศษส่วน  และการนำความรู้เกี่ยวกับเศษส่วน   ไปใช้ในชีวิตจริง  ทศนิยม  ค่าประจำหลักของทศนิยม  การเปรียบเทียบทศนิยม  การบวก  การลบ  การคูณ  การหารทศนิยม (ไม่รวมผลลัพธ์ที่เป็นทศนิยมซ้ำ) ความสัมพันธ์ของเศษส่วนกับทศนิยม  การนำความรู้  เกี่ยวกับทศนิยมไปใช้ในชีวิตจริง  และจำนวนตรรกยะและสมบัติของจำนวนตรรกยะ  การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก  การคูณและการหารเลขยกกำลัง  เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก  การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์และการนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังไปใช้ในชีวิตจริง  หน้าตัดของรูปเรขาคณิตสามมิติ การอธิบายภาพสองมิติที่ได้จากการมอง  ด้านหน้า  ด้านข้าง  และด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติ  และรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์ แบบรูปและความสัมพันธ์ คำตอบของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  สมบัติของการเท่ากัน  การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และการนำความรู้เกี่ยวกับสมการ เชิงเส้นตัวแปรเดียวไปใช้ในชีวิตจริง

               โดยจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยการปฏิบัติจริง ทดลอง  สรุป  รายงาน  เพื่อพัฒนาทักษะ/กระบวนการในการคิดคำนวณ แก้ปัญหา  การให้เหตุผล และนำความรู้  ความคิด  ทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์

                เพื่อให้เห็นคุณค่าและมีเจตนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์  สามารถทางานได้อย่างเป็นระบบ  มีระเบียบ  มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีความเชื่อมั่นในตนเอง

    3.ตัวชี้วัด

    ค 1.1 ม.1/1 เข้าใจจำนวนตรรกยะและความสัมพันธ์ของจำนวนตรรกยะ และใช้สมบัติของจำนวนตรรกยะในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง
    ค 1.3 ม.1/1 เข้าใจและใช้สมบัติของการเท่ากันและสมบัติของจำนวน เพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาโดยใช้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
    ค 2.2 ม.1/2 เข้าใจและใช้ความรู้ทางเรขาคณิตในการวิเคราะห์หาความ สัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและรูปเรขาคณิตสามมิติ
    รวม 3 ตัวชี้วัด



    รายวิชา คณิตศาสตร์ 6 - รหัสวิชา ค32102    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1
    เวลาเรียน 40 ชั่วโมง/ภาคเรียน       กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
    1. มาตรฐานการเรียนรู้
              มาตรฐาน ค 1.1   เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการของจำนวน ผลที่เกิดจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการ และนำไปใช้
     2. คำอธิบายรายวิชา

                ศึกษาเลขยกกำลังที่มีเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม รากที่ n ของจำนวนจริง เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน กราฟของความสัมพันธ์ โดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์ฟังก์ชัน ฟังก์ชันเชิงเส้น กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง การนำกราฟไปใช้ในการแก้สมการและอสมการ การแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้เรื่องฟังก์ชันกำลังสองและกราฟ ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ฟังก์ชันขั้นบันได 

               โดยการจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกทักษะ โดยการปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะ กระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะและกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้เห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ มีระเบียบ รอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง

    ตัวชี้วัด
    ค 1.1 ม.5/1  เข้าใจความหมายและใช้สมบัติเกี่ยวกับการบวก การคูณ การเท่ากัน และการไม่เท่ากันของจำนวนจริง         
                      ในรูปกรณฑ์  และจำนวนจริงในรูปเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ
    ค 1.2 ม.5/1  ใช้ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชันอธิบายสถานการณ์ที่กำหนด

    รวม 2 ตัวชี้วัด


    1.  มาตรฐานการเรียนรู้

         มาตรฐาน ค 3.1 ใช้นิพนจ์ สมการ และอสมการ อธิบายความสัมพันธ์ หรือช่วยแก้ปัญหาที่กำหนดให้ได้

    2.  คำอธิบายรายวิชา

    ศึกษาความรู้เกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว คำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวและกราฟแสดงคำตอบ การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว การนำความรู้เกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวไปใช้ในการแก้ปัญหา สมการกำลังสองตัวแปรเดียว การแก้สมการกำลังสองตัวแปรเดียว โดยใช้วิธีแยกตัวประกอบของพหุนามและวิธีทำเป็นกำลังสองสมบูรณ์ การนำความรู้เกี่ยวกับสมการกำลังสองตัวแปรเดียวไปใช้ในการแก้ปัญหา รูปทั่วไปของฟังก์ชันกำลังสอง กราฟของฟังก์ชันกำลังสองที่อยู่ในรูป y = ax2 เมื่อ a > 0 กราฟของฟังก์ชันกำลังสองที่อยู่ในรูป y = ax2 เมื่อ a < 0 กราฟของฟังก์ชันกำลังสองที่อยู่ในรูป y = ax2 + k  เมื่อ a, k ≠ 0 กราฟของฟังก์ชันกำลังสองที่อยู่ในรูป y = a(xh)2 + k  เมื่อ a, h ≠ 0 กราฟของฟังก์ชันกำลังสองที่อยู่ในรูป y = a(xh)2 + k  เมื่อ a, h, k ≠ 0 กราฟของฟังก์ชันกำลังสองที่อยู่ในรูป y = ax2 + bx + c เมื่อ a ≠ 0 การนำความรู้เกี่ยวกับฟังก์ชันกำลังสองไปใช้ในการแก้ปัญหา พีระมิด กรวย ทรงกลม  คลอร์ไทล์ แผนภาพกล่อง การนำแผนภาพกล่องไปใช้ในชีวิตจริง การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และการนำความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นไปใช้ในชีวิตจริง

              โดยการจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกทักษะ โดยการปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การเชื่อมโยง การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะและกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์

                    การวัดและประเมินผล ส่งผลให้ผู้เรียนเกิด ความคิดสร้างสรรค์  มีระเบียบวินัย  มีความรับผิดชอบ มีความมุ่งมั่นในการทำงาน มีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถทำงานอย่าเป็นระบบ รวมทั้งเห็นคุณค่า และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

    3.  ตัวชี้วัด

              ค. 1.2  ม.3/2    เข้าใจและใช้ความรู้เกี่ยวกับฟังก์ชันกำลังสองในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

    ค. 1.3   .3/1   เข้าใจและใช้สมบัติของการไม่เท่ากันเพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหา โดยใช้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

    ค. 1.3   .3/2   ประยุกต์ใช้สมการกำลังสองตัวแปรเดียวในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

    ค. 2.1   ม.3/1   ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องพื้นที่ผิวของพีระมิด กรวย และทรงกลมในการแก้ปัญหา

    คณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

    ค. 2.1   ม.3/2   ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องปริมาตรของพีระมิด กรวย และทรงกลมในการแก้ปัญหา

    คณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

    ค. 3.1   ม.3/1   เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพกล่อง

    และแปลความหมายผลลัพธ์รวมทั้งนำสถิติไปใช้ในชีวิตจริงโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

    ค. 3.2   .3/1   เข้าใจเกี่ยวกับกำรทดลองสุ่มและนำผลที่ได้ไปหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

    รวม 6 ตัวชี้วัด

        หน่วยการเรียนรู้