หลักสูตรรายวิชา
สังคมศึกษา 1 รหัสวิชา ส21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เวลาเรียนตลอดหลักสูตร 40 ชม./ภาคเรียน
2 ชม./สัปดาห์ จำนวนหน่วยกิต 1.0 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนโนนสูงศรีธานี ……………………………… 1. มาตรฐานการเรียนรู้ สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม มาตรฐาน ส 1.1 รู้ และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา
หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง
ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มาตรฐาน ส 1.2 เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ สาระที่
2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม
และการดำเนินชีวิตในสังคม มาตรฐาน ส 2.1
เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี
มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ
สังคมโลกอย่างสันติสุข
มาตรฐาน ส 2.2
เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น
ศรัทธา
และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ศึกษาประวัติความเป็นมาของการสังคายนา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติ สถาบันหลักของสังคมไทย การพัฒนาตนเองและครอบครัว พุทธประวัติเรื่องประสูติ เทวทูต 4 การแสวหาความรู้ การบำเพ็ญทุกข์กิริยา พุทธสาวก พุทธสาวิกา พระมหากัสสปะ พระอุบาลี อนาถบิณฑิกะ นางวิสาขา ชาดก ณิตติรชาดก ศาสนิกชนตัวอย่าง พระเจ้าอโศกมหาราช พระโสณะและพระอุตตระ พระรัตนตรัย พุทธคุณ 9 อริยสัจ 4 ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) : ขันธ์ 5 ธาตุ 4 สมุทัย (ธรรมที่ควรละ) :หลักธรรม อบายมุข 6 นิโรธ(ธรรมที่ควรบรรลุ) สุข 2 (กายิก, เจตสิก) คิหิสุข มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ):ไตรสิกขา กรรมฐาน 2 ปธาน 4 โกสล 3 มงคล 38 ไม่คบคนพาล คบบัณฑิต บูชาผู้ที่ควรบูชา พุทธศาสนสุภิต โยนิโสมนสิการ วิธีคิดแบบคุณค่าแท้- คุณค่าเทียม วิธีแบบคุณ-โทษ และทางออก สวดมนต์แปลและแผ่เมตตา วิธีปฏิบัติและประโยชน์ของการบริหารจิต และ เจริญปัญญา ตามหลักสติปัฎฐาน เน้นอานาปานสติ นำวิธีการบริหารจิต และ เจริญปัญญาไปใช้ในชีวิตประจำวัน การปฏิบัติตนของศาสนิกชนอย่างเหมาะสม ตัวอย่างบุคคลในท้องถิ่น การบำเพ็ญประโยชน์และการบำรุงวัด วิถีชีวิตของพระภิกษุ บทบาทของพระภิกษุ การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุ การจัดโต๊ะหมู่บูชา คำอาราธนาต่างๆ ประวัติ และ ความสำคัญของ วันธรรมสวนะ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา พิธีเวียนเทียน การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา อัฎมีบูชา วันอาสาฬบูชา วันธรรมสวนะและเทศกาลสำคัญศึกษาเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ เกี่ยวกับการเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย โดยปฏิบัติตนตามกฎหมาย ในการคุ้มครองสิทธิของบุคคล การทำประโยชน์ในระดับชุมชน/ท้องถิ่น การเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม เรียนรู้เกี่ยวกับสถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีของสังคมและประเทศ เกี่ยวกับลักษณะ ความสำคัญ แนวปฏิบัติ ประโยชน์และคุณค่าของการปฏิบัติ ผลของการปฏิบัติ และไม่ปฏิบัติ เรียนรู้เรื่องกฎ ระเบียบ กฎหมาย ตามหลักสิทธิมนุษยชน รู้ และเข้าใจประเพณีและวัฒนธรรมในด้านลักษณะ องค์ประกอบ บทบาท หน้าที่ และ แนวทางการปฏิบัติตนของสมาชิกในสถาบันทางสังคมเกี่ยวกับสถาบันครอบครัว การศึกษา ศาสนา และการเมืองการปกครอง เข้าใจระบบการเมืองการปกครองของไทยเกี่ยวกับเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ระบบบริหารราชการแผ่นดิน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองการปกครองในชุมชน รวมถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขโดยยึดหลักคุณธรรมของการอยู่ร่วมกันตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ โดยการสืบค้นข้อมูล อธิบาย เปรียบเทียบ วิเคราะห์เชื่อมโยง วิเคราะห์สาเหตุ การสำรวจและอธิบายจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย การอภิปราย การฝึกปฏิบัติ และ การแสวงหาความรู้จากสื่อต่างๆ ใช้กระบวนการกลุ่ม การคิดวิเคราะห์ การอภิปรายการสืบค้นข้อมูล การปฏิบัติ การประยุกต์ความรู้ และการสรุปความรู้กระบวนการฝึกปฏิบัติ ประยุกต์ใช้เกี่ยวกับกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของบุคคล บทบาทหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ เปรียบเทียบความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนการปฏิบัติตนในการเคารพสิทธิ เสรีภาพของตนเองและผู้อื่น อภิปรายเกี่ยวกับหลักการ เจตนารมณ์ โครงสร้าง สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน การแบ่งอำนาจและถ่วงดุลอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ฝ่ายคืออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ตามรัฐธรรมนูญ
เพื่อให้เกิดการใฝ่เรียนรู้ วัดความเป็นไทย มีเหตุผล มีความศรัทธาและยึดมั่นในหลักธรรมคำสอน ตระหนักในการเป็นศาสนิกชนที่ดี ยึดมั่นในการทำความดี มีจิตสาธารณะ ธำรงรักษาไว้ซึ่งศาสนาที่ตนนับถือ ปฏิบัติตนอยู่ในสังคมอย่างสันติสุข ความรู้ความเข้าใจ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ปฏิบัติตนตามระเบียบชองโรงเรียนและสังคมดำรงชีวิตอย่างมีสติสัมปชัญญะ ดูแลรักษาสาธารณสมบัติและรักความเป็นไทย รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้ เพื่อให้สามารถนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุขและมีสันติสุข
- อาจารย์: นางพยอม ปราบงูเหลือม