ศึกษาองค์ประกอบของพระรัตนตรัย โดยใช้หลักเบญจธรรม ซึ่งประกอบด้วยสติ เมตตา สุจริต เคารพ และสัจจะ ในเรื่อง  ประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนา เรื่อง สังคมชมพูทวีปและคติความเชื่อทางศาสนาสมัยก่อนพุทธกาล คำสอนและวิธีการที่เป็นสากล  เน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญา  ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา หลักการคิดของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์  เน้นการฝึกอบรมตน การพึ่งพาตนเอง และการมุ่งอิสรภาพ  ความสัมพันธ์พื้นฐานของเหตุปัจจัยและวิธีการแก้ปัญหา  การฝึกตนไม่ให้ประมาท  การมุ่งประโยชน์สุขและสันติภาพแก่บุคคล  สังคมและโลก  พระพุทธศาสนากับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาแบบยั่งยืน และความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการศึกษา การเมือง และสันติภาพ
              ศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าในฐานะเป็นมนุษย์ผู้ฝึกตนเองได้อย่างสูงสุด(ตรัสรู้)  การก่อตั้งพระพุทธศาสนา  วิธีการสอน การเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ตามแนวพุทธจริยา  พุทธประวัติ ด้านการบริหรและการดำรงรักษาพระพุทธศาสนา
              ศึกษาหลักธรรมในกรอบอริยสัจ 4 หรือหลักคำสอนของศาสนาได้แก่ พระรัตนตรัย(วิเคราะห์ความหมายและคุณค่าของพุทธ  ธรรมะ  สังฆะ ) อริยสัจ4  ทุกข์(ธรรมที่ควรรู้) : ขันธ์ 5 นามรูป  โลกธรรม 8  จิต,เจตสิก  สมุทัย(ธรรมที่ควรละ) :  นิยาม 5กรรมนิยาม(กรรม12)  ธรรมนินาม(ปฏิจจสมุปบาท)  วิตก 3  มิจฉาวณิชชา 5  นิวรณ์ 5  อุปาทาน 4  นิโรธ(ธรรมที่ควรบรรลุ) : ภาวนา4  วิมุตติ 4  นิพพาน  มรรค(ธรรมที่ควรเจริญ) : พระสัทธรรม 3  ปัญญาวุฒิธรรม 4  พละ 5  อุบาสกธรรม 5  อปริหานิยธรรม 7  ปาปณิกธรรม 3  ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4  โภคอาทิยะ 5  อริยวัฑฒิ 5  อธิปไตย 3  สาราณียธรรม 6  ทศพิธราชธรรม 10 วิปัสสนาญาณ 9  มงคล 38  สงเคราะห์บุตร  สงเคราะห์ภรรยา  สันโดษ  ถูกโลกธรรมจิตไม่หวั่นไหว  จิตไม่เศร้าโศก  จิตไม่มัวหมอง  จิตเกษม  ความเพียรเผากิเลส  ประพฤติพรหมจรรย์  เห็นอริยสัจ  บรรลุนิพพาน   พุทธศาสนสุภาษิต  พุทธสาวก พุทธสาวิกา  พุทธศาสนิกชนตัวอย่าง  ชาดก และพระไตรปิฏก
            โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน  คือ การมีสติรู้เท่าทันอิริยาบถต่างๆ และลมหายใจของตนเองตามความเป็นจริงในทุกขณะ การมีสติรู้เท่าทันอารมณ์และความรู้สึกของตนเองว่าชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือเฉยๆ ต่ออารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบใจ การมีสติรู้เท่าทันความคิดและสิ่งต่างๆ ที่จิตปรุงแต่งสุข ทุกข์ ดี ชั่ว ตามความเป็นจริง การมีสติรู้เท่าทันสภาวะและสถานการณ์ ตลอดจนปรากฏการณ์ทั้งด้านดีและไม่ดี แล้วสามารถนำหลักธรรมใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้  สืบค้นข้อมูลและสามารถสรุปความรู้เป็นของตนเอง  ใช้กระบวนการกลุ่มในการสนทนาซักถาม  อภิปราย  เสนอปัญหา  การแก้ปัญหา  ให้เหตุผล  การเชื่อมโยง  การตีความ  การจำแนกประเภท  เปรียบเทียบ  ยกตัวอย่าง   มีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนตามความเหมาะสม  นำวิธีคิดและวิธีการไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ 
              เพื่อให้ผู้เรียนมีสติ รู้เท่าทัน และมีสมาธิไม่หวั่นไหวกับสิ่งที่มากระทบ ใช้ปัญญาพิจารณาในการพัฒนาตนเอง เป็นพลเมืองที่มีจิตสาธารณะ ตั้งมั่นอยู่ในสุจริตธรรม มีความเคารพและศรัทธาในสถาบันชาติ ประพฤติตนเป็นคนดี รู้จักเสียสละ  มีความพอเพียง มีทักษะในการแก้ปัญหาและการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง ปฏิบัติตนเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์

รหัสตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด   ส1.1 ม.4-6/1  ,  ส1.1 ม.4-6/2 , ส1.1 ม.4-6/3  , ส1.1 ม.4-6/4
  ส1.1 ม.4-6/5  ,  ส1.1 ม.4-6/6 , ส1.1 ม.4-6/7  , ส1.1 ม.4-6/8
ส1.1 ม.4-6/9  ,  ส1.1 ม.4-6/10 , ส1.1 ม.4-6/11 , ส1.1 ม.4-6/12
  ส1.1 ม.4-6/13  ,  ส1.1 ม.4-6/14 , ส1.1 ม.4-6/15 , ส1.1 ม.4-6/16
  มฐ. ส 1.2 ม.4-6/1 
 รวมทั้งหมด    17    ตัวชี้วัด