1.  มาตรฐานการเรียนรู้

     มาตรฐาน ค 3.1 ใช้นิพนจ์ สมการ และอสมการ อธิบายความสัมพันธ์ หรือช่วยแก้ปัญหาที่กำหนดให้ได้

2.  คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาความรู้เกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว คำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวและกราฟแสดงคำตอบ การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว การนำความรู้เกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวไปใช้ในการแก้ปัญหา สมการกำลังสองตัวแปรเดียว การแก้สมการกำลังสองตัวแปรเดียว โดยใช้วิธีแยกตัวประกอบของพหุนามและวิธีทำเป็นกำลังสองสมบูรณ์ การนำความรู้เกี่ยวกับสมการกำลังสองตัวแปรเดียวไปใช้ในการแก้ปัญหา รูปทั่วไปของฟังก์ชันกำลังสอง กราฟของฟังก์ชันกำลังสองที่อยู่ในรูป y = ax2 เมื่อ a > 0 กราฟของฟังก์ชันกำลังสองที่อยู่ในรูป y = ax2 เมื่อ a < 0 กราฟของฟังก์ชันกำลังสองที่อยู่ในรูป y = ax2 + k  เมื่อ a, k ≠ 0 กราฟของฟังก์ชันกำลังสองที่อยู่ในรูป y = a(xh)2 + k  เมื่อ a, h ≠ 0 กราฟของฟังก์ชันกำลังสองที่อยู่ในรูป y = a(xh)2 + k  เมื่อ a, h, k ≠ 0 กราฟของฟังก์ชันกำลังสองที่อยู่ในรูป y = ax2 + bx + c เมื่อ a ≠ 0 การนำความรู้เกี่ยวกับฟังก์ชันกำลังสองไปใช้ในการแก้ปัญหา พีระมิด กรวย ทรงกลม  คลอร์ไทล์ แผนภาพกล่อง การนำแผนภาพกล่องไปใช้ในชีวิตจริง การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และการนำความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นไปใช้ในชีวิตจริง

          โดยการจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกทักษะ โดยการปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การเชื่อมโยง การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะและกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์

                การวัดและประเมินผล ส่งผลให้ผู้เรียนเกิด ความคิดสร้างสรรค์  มีระเบียบวินัย  มีความรับผิดชอบ มีความมุ่งมั่นในการทำงาน มีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถทำงานอย่าเป็นระบบ รวมทั้งเห็นคุณค่า และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

3.  ตัวชี้วัด

          ค. 1.2  ม.3/2    เข้าใจและใช้ความรู้เกี่ยวกับฟังก์ชันกำลังสองในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

ค. 1.3   .3/1   เข้าใจและใช้สมบัติของการไม่เท่ากันเพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหา โดยใช้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ค. 1.3   .3/2   ประยุกต์ใช้สมการกำลังสองตัวแปรเดียวในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

ค. 2.1   ม.3/1   ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องพื้นที่ผิวของพีระมิด กรวย และทรงกลมในการแก้ปัญหา

คณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

ค. 2.1   ม.3/2   ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องปริมาตรของพีระมิด กรวย และทรงกลมในการแก้ปัญหา

คณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

ค. 3.1   ม.3/1   เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพกล่อง

และแปลความหมายผลลัพธ์รวมทั้งนำสถิติไปใช้ในชีวิตจริงโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

ค. 3.2   .3/1   เข้าใจเกี่ยวกับกำรทดลองสุ่มและนำผลที่ได้ไปหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

รวม 6 ตัวชี้วัด

    หน่วยการเรียนรู้